บริการงานหลังการพิมพ์ทุกชนิด

งานหลังพิมพ์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

คือ งานแปรรูป(Converting) และ งานทำสำเร็จ (Finishing)


ขั้นตอนพื้นฐานของงานแปรรูป และ งานสำเร็จ

งานแปรรูป

ได้แก่ การตัด การพับ การเข้าเล่ม (Assemble) การเย็บเล่ม (Binding) การเจียน และการเข้าปก

งานสำเร็จ

ได้แก่ การปั๊มนูน การปรุรอย การทำรอยพับ (Scoring) และการปั๊มตัด

 

งานทำสำเร็จไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับก่อนหลัง ในที่นี้จะกล่าวถึงงานหลังพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุใช้พิมพ์ประเภทกระดาษ เนื่องจากกระดาษเป็นวัสดุใช้พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
 
 

งานแปรรูป(Converting) มีขั้นตอนดังนี้
 
การพับ อุปกรณ์พื้นฐานในการพับคือ ไม้เนียน (Bone Foler) มีการใช้อุปกรณ์นี้หลายร้อยปี เมื่อพับแผ่นพิมพ์ตาม
      
รอยพับแล้ว ใช้ไม้เนียนรีดรอยพับทับอีกครั้งเพื่อให้รอยพับเรียบ การพับ แผ่นพิมพ์ ด้วยวิธีนี้ในปัจจุบันใช้เฉพาะงานที่ ต้องการความพิถีพิถัน และงาน จำนวนไม่มากส่วนใหญ่งานพิมพ์ในทางอุตสาหกรรมจะใช้เครื่องพับ กระดาษอัตโนมัติ ที่มีอุปกรณ์พับสองแบบคือ แบบใช้ใบมีด และแบบใช้ ้ลูกกลิ้งในการพับ รูปแบบการพับมีหลายรูปแบบ เช่น การพับมุมฉาก การพับแบบขนาน เป็นต้น

การเข้าเล่ม  กระบวนการเข้าเล่มประกอบด้วยการรวบรวมยกพิมพ์หรือ การซ้อนยกพิมพ์ (Gathering)

การเรียงลำดับยกพิมพ์ (Collating) การสอดยกพิมพ์ (Inserting) การรวบรวมยกพิมพ์ หรือการซ้อนยกพิมพ์เป็นการ รวบรวมยกพิมพ์ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยการซ้อนยกพิมพ์หนึ่งบนอีก ยกพิมพ์ หนึ่งตาม ลำดับที่ถูกต้อง เพื่อเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการเย็บสัน นิยมใช้กับหนังสือที่มีีความหนามาก

การเรียงลำดับยกพิมพ์ เป็นการเรียงลำดับ เป็นการเรียงลำดับยก พิมพ์ แต่ละยก เพื่อให้สามารถเปิดหนังสือได้ตามลำดับเลขหน้าที่เรียง ถูกต้อง หรือในกรณีที่มิใช่ยกพิมพ์ จะเป็นการเรียงลำดับเลขหน้า ของแผ่นพิมพ์ ก่อนเข้าปกหนังสือหรือสิ่งพิมพ์นั้น

การสอดยกพิมพ์ เป็นการสอดยกพิมพ์หนึ่งซ้อนเข้าไประหว่างยกพิมพ์อื่น เพื่อเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการเย็บมุมหลังคาหรือเย็บอก ใช้กับหนังสือพิมพ์ที่มีความหนาไม่มาก     

         
การเย็บเล่ม เป็นขั้นตอนที่ทำภายหลังการเข้าเล่ม มีหลายวิธีคือ การทากาว (Adhesive Binding)

การเย็บสัน (Side Binding) การเย็บอก หรือ เย็บมุงหลังคา (Saddle Binding)
4.1 การทากาว   ถ้าเป็นงานที่ไม่ซับซ้อน เช่น การทำสมุดฉีก การทากาว จะทำ ที่ขอบของปึกกระดาษ เพื่อยึดปึกกระดาษเข้าด้วยกัน กาวที่ใช้ทำจาก วัสดุเหลว ที่ละลายนํ้าได้ แต่เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นวัสดุที่ ี่ไม่ละลาย น้ำถ้าเป็นงานหนังสือ ที่มีความหนาปานกลาง เช่น นิตยสาร หรือพ็อกเก็ตบุ๊ก จะเข้าเล่มด้วยวิธีที่เรียกว่า ไสสันกาว (Perfect or Patent Binding) ทำได้โดยเจียนสัน ยกพิมพ์ที่ ี่ผ่านการเข้า เล่มแล้วให้เป็น รอยหยัก แล้ว ทากาวเหลวซึ่งมักเป็นกาวร้อนลงไปที่สันนั้น กาวร้อนเป็น กาวที่ี่ทำให้ ้เป็นของเหลวได้โดยให้ความร้อน แล้วนำไปทาที่ ขอบสัน ที่ผ่านการ เจียน ด้วยการเลื่อยแล้ว จากนั้นปิดสันด้วยผ้าก๊อชเพื่อเพิ่มความ แข็งแรง ให้สันนับเป็นวิธีที่ทำได้เร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อย

4.2 การเย็บสัน       เป็นวิธีการเย็บสันหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ด้วยลวดเย็บ กระดาษ เหมาะกับ หนังสือที่มีความหนาไม่มาก มิฉะนั้น จะเปิดกาง หนังสือได้ไม่เต็มที่ นอกเหนือจากการใช้ลวดเย็บกระดาษ อาจยึดเล่ม หนังสือด้วยเกลียว ลวด หรือ เกลียวพลาสติก ด้วยการเจาะรูที่ สันหนังสือแล้วร้อยเกลียวนั้นเข้าไป การเย็บสัน ยังอาจใช้ด้ายเย็บ โดยเจาะรูสันหนังสือก่อนแล้วจึงเย็บด้วย มือหรือเครื่องก็ได้
ถ้าเป็นงานหนังสือมีค่า ราคาแพง หนังสือปกแข็ง จะใช้การเย็บกี่ ซึ่งเป็น วิธีการเย็บสันด้วยด้ายและใช้วิธีการเย็บพิเศษ เพื่อเพิ่มความคงทน และยึดอายุ ุการใช้งานของหนังสือ หนังสือที่เย็บเล่ม ด้วยลวดเย็บ กระดาษ ที่เย็บ ไปด้านบน ของปึกหนังสือ และสามารถมองเห็น ลวดเย็บถ้ามอง จากด้านบนของหนังสือ

4.3 การเย็บอกหรือการเย็บมุงหลังคา  เป็นการเย็บเล่มบนรอยพับของ หนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่สอดเข้าด้วยกันโดยใช้ ลวดเย็บ เหมาะกับหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ที่มีความหนา ไม่มาก

         
การเจียน  เป็นการเจียนขอบหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่ผ่านการเย็บเล่มแล้วเพื่อให้ขอบเรียบ การเจียนอาจเจียนขอบทีละด้าน  ยกเว้นด้านสัน หรือเจียนพร้อมกันทีเดียวสามด้าน ยกเว้นด้านสัน
 
          
การเข้าปก ปกหนังสือหรือสิ่งพิมพ์มีหลายประเภท ได้แก่ ปกในตัว ปกอ่อน และปกแข็ง ปกในตัววัสดุประเภทเดียวกับ
เนื้อในหนังสือ มักใช้กับสิ่งพิมพ์ที่ราคาไม่แพง การเย็บเล่มใช้ลวดเย็บกระดาษ อาจเย็บสันหรือเย็บอก ปกหนังสือประเภทอ่อน ทำจากกระดาษที่หนากว่า กระดาษเนื้อใน ส่วนปกหนังสือประเภทปกแข็งใช้กับหนังสือหรือ สิ่งพิมพ์ ที่ต้องการคุณภาพสูง มักเย็บเล่มเนื้อในหนังสือด้วยการเย็บกี่ ปกแข็งมักทำแยก จากการพิมพ์และเย็บเล่มเนื้อใน วัสดุที่ใช้ทำปกเป็นกระดาษแข็งที่หุ้มหนังผ้า หรือกระดาษชนิดพิเศษ


งานทำสำเร็จ (Finishing)  เป็นงานในลักษณะตกแต่งงานพิมพ์เพื่อเพิ่มความสวยงาม ความประณีต พิถีพิถัน น่าดึงดูด หรือเพิ่มอายุการใช้งาน ช่วยให้งานพิมพ์ทนต่อการขีดข่วน หรือการขัดถู ป้องกันน้ำหรือความชื้น และเพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานอื่นๆ ตามความต้องการที่แตกต่างไป งานทำสำเร็จจึงเป็นทางเลือกของลูกค้าที่ว่าจ้างให้พิมพ์งาน จำทำหรือไม่ทำก็ได้ ถ้าทำก็ไม่จำเป็นต้องมีลำดับก่อนหลังสำหรับงานทำสำเร็จแต่ละประเภท ตัวอย่างของงานทำสำเร็จมีดังนี้
 
การประทับรอยร้อน หรือการเดินรอยร้อน หรือการปั๊มทอง
 เป็นงานที่นิยมเนื่องจากทำให้งานพิมพ์ดูน่าสนใจและสดใส แวววาวมากขึ้นจากการทำสีของโลหะ ทอง เงิน หรือสีอื่นๆ โดยการใช้ ้แผ่นฟอยด์หรือแผ่นโลหะเปลวทาบบนสิ่งพิมพ์แล้วอัดด้วยแม่พิมพ์พื้นนูนที่มีภาพและข้อความตามต้องการ ใช้ความร้อนและ
แรงกดส่วนที่เป็นสีของแผ่นฟอยล์จะปรากฏบนสิ่งพิมพ์นั้น  การประทับรอยร้อนนิยมทำบนหนังสือปกแข็ง

การดุนนูน
เป็นการทำให้เกิดรอยนูนบนสิ่งพิมพ์ด้วยการใช้แม่แบบทำจากทองเหลืองหรือพลาสติกแข็งโดยใช้เครื่องพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์แท่นนอน หรือเครื่องจักรแบบพิเศษ

การอาบมันและการเคลือบ
เป็นการเพิ่มความมันให้กับสิ่งพิมพ์ เพื่อเพิ่มความสวยงามและความทนทานในการใช้งาน การอาบมันอาจใช้วาร์นิชเคลือบบนสิ่งพิมพ์หรือพิมพ์เคลือบด้วยฟิลม์พลาสติก

การเคลือบ
ใช้สารยึดติด (Adhesive) ฐานตัวทำละลายหรือฐานน้ำ ในกรณีที่ต้องการอาบมันหรือ
เคลือบฟิลม์ ต้องเลือกใช้หมึกพิมพ์ด้วยความระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาหมึกเปลี่ยนสี
หรือหมึกเลอะภายหลังการอาบมันหรือการเคลือบ ได้แก่ ปกนิตยสาร ปกหนังสือ บัตรประเภทต่างๆ
    
การพิมพ์นูนด้วยความร้อน (Thermography)
มีลักษณะคล้ายการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์พื้นนูน แต่ผลที่ได้ไม่มีรอยที่ด้านหลังสิ่งพิมพ์จากการใช้แรงกดดังเช่นในกรณีการพิมพ์พื้นนูน บางครั้งจึงเรียกการพิมพ์วิธีนี้ว่าการพิมพ์นูนเทียม การพิมพ์ทำได้โดยใช้แม่พิมพ์พื้นนูนและหมึกที่มีความข้นสูง ภายหลังการพิมพ์ โรยด้วยผงเรซินที่มีจุดหลอมตัวต่ำ ผงเรซินจะเกาะ ณ บริเวณภาพหรือบริเวณพิมพ์ เมื่อให้ความร้อน เรซินจะหลอมและทำให้บริเวณภาพนูนขึ้นมา ภาพที่ได้จะนูนและเป็นเงา แต่ไม่มีรายละเอียดของภาพมากนัก และไม่คงทน แต่ถูกขูดออกได้ง่าย     
 
การอัดตัดตามแบบ  หรือการตัดรูป
เป็นการทำรูปแบบลวดลายพิเศษที่ไม่ใช่สี่เหลี่ยมโดยรอบสิ่งพิมพ์ และไม่สามารถ ใช้มีดธรรมดาตัดเจียนได้ แต่ต้องใช้แม่แบบพิเศษที่สั่งทำเพราะรูปแบบ ที่ลูกค้าแต่ละรายต้องการ มักแตกต่างกันไป เครื่องที่ใช้มักประยุกต์จากเครื่องพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์แท่นยืน

    
 การพิมพ์นูนด้วยความร้อน (Thermography)
ทำได้โดยใช้เครื่องจักรหุ้มชั้นพลาสติกบนเล่มสิ่งพิมพ์ 3-4 ด้านขึ้นอยู่กับความต้องการ แล้วหลอมพลาสติกด้วยความร้อน เพื่อปกป้องสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดก่อนถึงมือลูกค้า
 


    
 
 
 
 


  • mgi.jpg
    เทคโนโลยีการพิมพ์ระบบดิจิตอล เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ที่กำลังเข้ามามีอิทธิพลในวงการพิมพ์ทุกรูปแบบ ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ที่มีการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ใน...