โบรชัวร์ / Brochures
การออกแบบรูปเล่มและเนื้อหาที่ดีของโบรชัวร์ย่อมทำให้สินค้า/การบริการนั้น ๆ มีความโดดเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้จุดมุ่งหมายของงานพิมพ์โบรชัวร์นั้นประสบความสำเร็จ
ความหมายของโบรชัวร์คือเอกสารเย็บเล่มหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "โบรชัวร์" นั้นเป็นที่มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า "Brochure"โดยใช้เรียกทับศัพท์ของ สิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่ง ในความหมายที่แท้จริงแล้วคือโบรชัวร์หมายความถึงหนังสือเล่มเล็กซึ่งก็หมายถึง จะต้องมีการเย็บเล่ม เข้าด้วยกันนั่นเอง
ลักษณะที่สำคัญของโบรชัวร์ หรือเอกสารเย็บเล่ม ก็คือ เป็นสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจที่มุ่งเสนอข่าวสารเป็นการเฉพาะและต้องการ เนื้อหารายละเอียดที่สามารถบรรจุได้มากกว่าแผ่นพับทั่วๆไป รวมทั้งในการจัดทำโบรชัวร์จะมีการเอาใจใส่ในคุณภาพ ทางการพิมพ์มากกว่างานพิมพ์ประเภทจุลสาร
ส่วนรูปแบบโบรชัวร์ มักจะทำเล่มแบบเย็บมุงหลังคา ซึ่งจะต้องมีปกหน้า-หลังด้วยนั่นเอง ปัจจุบันอาจจะมีหลายขนาดและอาจจะ ไม่เย็บเล่ม แต่เป็นการพับเก็บเล่มก็ได้
ตัวอย่างงานพิมพ์โบรชัวร์ที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น เอกสารโฆษณาสินค้า เอกสารแนะนำองค์กร บริษัท ร้านค้า เป็นต้น
ขั้นตอนการเตรียมงานพิมพ์โบรชัวร์
กำหนดวัตถุประสงค์
ก่อนที่จะจัดทำพิมพ์โบรชัวร์ จำเป็นต้องทราบจุดประสงค์ในการจัดทำ เช่น ทำขึ้นเพื่อแนะนำสินค้าหรือบริษัท
กำหนดหัวข้อที่จะบรรจุลงในโบรชัวร์
กำหนดช่องทางการแจกจ่าย
เช่น แจกหน้าร้าน แจกตามศูนย์การค้าต่าง ๆ หรือส่งทางไปรษณีย์ถึงลูกค้าโดยตรง
กำหนดแผนและช่วงเวลาการแจกจ่าย และท้ายสุดตั้งความคาดหวังที่จะได้รับ ความคาดหวังอาจรวมถึงการรับรู้หรือการตอกย้ำความนึกคิดในผลิตภัณฑ์หรือการบริการนั้น ๆ ด้วย
กำหนดรูปแบบ ขนาด และจำนวนพิมพ์
วิธีหนึ่งในการกำหนดรูปแบบก็คือดูตัวอย่างโบรชัวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาด โบรชัวร์ตามศูนย์การค้า หรือโบรชัวร์ที่ได้รับทางไปรษณีย์ เลือกรูปแบบที่เหมาะกับงานที่จะทำ สำหรับขนาดให้เลือกดูจาก ขนาดของโบรชัวร์ ที่ระบุข้างล่างได้เพื่อความประหยัดไม่เสียเศษในการพิมพ์ ส่วนจำนวนพิมพ์ให้ดูจากความต้องการใช้งาน
ในขั้นนี้ควรจัดทำแบบร่างโบรชัวร์คร่าว ๆ (Layout) เพื่อดูว่าจะเดินเรื่องอย่างไรตลอดทั้งเล่ม มีหัวเรื่องและภาพประกอบอย่างไร ฯลฯ
ออกแบบจัดทำอาร์ตเวิร์ค
ในปัจจุบันจะใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและจัดทำต้นฉบับ ซอฟแวร์ที่เกี่ยวกับภาพและการตกแต่งภาพ มักใช้ Adobe Photoshop ซอฟแวร์ที่ใช้ในการจัดหน้า มักใช้ Adobe Indesign, Illustrator, Pagemaker ในการจัดทำต้นฉบับโบรชัวร์ ให้คำนึงถึงปกที่ผู้รับจะพบเห็น ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต้องให้เด่นสดุดสายตา ปกโบรชัวร์บางเล่มมีการทำไดคัตเป็นรูปให้ดูแปลกตา บางเล่มเคลือบปกด้วยพลาสติกด้านแล้วเคลือบสป็อตยูวีบนภาพที่ต้องการเน้น ฯลฯ ข้อความในหน้าแรกต้องกระชับสื่อถึงสิ่งที่ต้องการให้รับทราบ และเร้าใจให้อ่านรายละเอียดในหน้าต่อ ๆ ไป ในหน้าอื่น ๆ ให้ดำเนินเรื่องราวและภาพอย่างต่อเนื่องจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง การจัดรูปแบบแต่ละหน้าให้มีลักษณะที่เข้ากัน และให้ดูไม่ขัดกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน (เช่น จัดระยะขอบเท่ากันทุกหน้า ใช้สีโทนเดียวกัน ใช้ฟ้อนต์เดียวกัน ฯลฯ)หน้าสุดท้ายมักจะเป็นสถานที่ติดต่อหรือจุดที่ให้บริการ
อนึ่งงานพิมพ์โบรชัวร์ที่ดี เริ่มจากต้นฉบับที่ดี ภาพที่คมชัด ใช้ซอฟแวร์ที่ถูกต้อง และที่สำคัญที่สุด การพิมพ์ต้องได้คุณภาพ เมื่อได้โบรชัวร์ที่ดีย่อมมีส่วนช่วยทำให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
ข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์โบรชัวร์
รูปแบบและรายละเอียดของงานพิมพ์โบรชัวร์
งานพิมพ์โบรชัวร์โดยทั่วไปมีรูปแบบเหมือนหนังสือซึ่งมีความหนาไม่มาก โดยส่วนใหญ่จะพิมพ์ 4 สีทั้งเล่มเพื่อดึงดูดความสนใจและแสดงสินค้า/การบริการได้สมจริง
ขนาดของงานพิมพ์โบรชัวร์
ขนาด 10.25”x 15”, 7.5”x 10.25”, 5”x 7.5”, 3.5”x 5”
8.25”x 11.75”(A4), 5.75”x 8.25”(A5), 4.125”x 5.75”(A6)
สำหรับขนาดอื่น อาจทำให้มีการเสียเศษแผ่นพิมพ์
ปกพิมพ์โบรชัวร์
กระดาษที่ใช้ทำปกงานพิมพ์โบรชัวร์ การพิมพ์งานโบรชัวร์ต้องใช้กระดาษปอนด์ 80 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษอาร์ตมัน/ด้าน 90 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษอาร์ตการ์ด 190 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษแฟนซี (กระดาษที่มีเนื้อและผิวพิเศษ)
เพื่อความประหยัด บางครั้งใช้กระดาษเนื้อเดียวกับเนื้อในโบรชัวร์
การพิมพ์และตกแต่งผิวปกงานพิมพ์โบรชัวร์
มีการพิมพ์โบรชัวร์ 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า ใช้แม่สี 4 สีหรือสีพิเศษก็ได้
พิมพ์โบรชัวร์หน้าเดียวหรือ สองหน้าแล้วแต่การออกแบบ
งานพิมพ์โบรชัวร์สามารถเคลือบ UV เคลือบพลาสติกเงา หรือเคลือบพลาสติกด้าน เคลือบ Spot UV พอปั้มนูน (Embossing) ปั้มทองหรือฟิล์ม/ฟอยล์สีต่าง ๆ (Hot Stamping) หากต้องมีการเคลือบดังกล่าว ควรใช้กระดาษอาร์ตที่มีความหนาพอประมาณ (ไม่ต่ำกว่า 128 แกรมขึ้นไป) เพื่อให้กระดาษคงรูป ไม่ม้วนตัว
เนื้อในของงานพิมพ์โบรชัวร์
กระดาษที่ใช้ทำเนื้อในงานพิมพ์โบรชัวร์ ในการพิมพ์โบรชัวร์ต้องใช้กระดาษปอนด์ 80 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษอาร์ตมัน/ด้าน 90 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษถนอมสายตา
การพิมพ์และตกแต่งผิวเนื้อในงานพิมพ์โบรชัวร์
มีการพิมพ์โบรชัวร์ 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า ใช้แม่สี 4 สีหรือสีพิเศษก็ได้
อาจมีการตกแต่งผิวเพิ่มเติมเช่นเดียวกับปกของโบรชัวร์
รูปแบบของการเข้าเล่มงานพิมพ์โบรชัวร์
เย็บมุงหลังคา หรือไสสันทากาว ( ความหนาของเล่มไม่ควรต่ำกว่า 2 ม.ม.หากต้องการไสกาว)
เพิ่มเติมงานพิมพ์โบรชัวร์
งานพิมพ์โบรชัวร์สามารถทำการปั้มไดคัท (Die-cut) เป็นรูปต่าง ๆ บนปกหรือเนื้อในขึ้นอยู่กับการออกแบบงานพิมพ์โบรชัวร์
กระดาษที่ใช้ในการผลิต โบรชัวร์ แผ่นพับ (Brochure)
o Offset (ออฟเซ็ต)
- ปอนด์ (Bond Paper) 70-120 แกรม
- อาร์ตการ์ด (Art Card Paper-Premium) 85-310 แกรม
- การ์ดขาว (White Card Paper-Premium) 120-310 แกรม
o Digital offset (ดิจิตอล ออฟเซ็ท)
- ปอนด์ (Bond Paper) 120 แกรม
- อาร์ตการ์ด (Art Card Paper-Premium) 160-310 แกรม
- การ์ดขาว (White Card Paper-Premium) 160-310 แกรม
เทคนิกการพิมพ์พิเศษ สำหรับ โบรชัวร์ แผ่นพับ (Brochure)
o Offset (ออฟเซ็ต)
- เคลือบ UV
- เคลือบด้าน / เคลือบมัน
- เคลือบ Soprt UV
- ปั้มนูน
- ปั้มทอง/ ปั้มเงิน / ปั้มสีพิเศษ
- สีพิเศษ (สีสะท้อนแสง สีเฉพาะ)
- พับ (Fold)
- ไดคัท
o Digital offset (ดิจิตอล ออฟเซ็ท)
- ปั้มทอง
โบรชัวร์ รับพิมพ์โบรชัวร์ ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ เพื่อแนะนำประชาสัมพันธ์องค์กร หรือ สินค้า โบชัวร์ นิยมใช้กระดาษอาร์ต 90-360 แกรม ซึ่งสามารถพับได้หลายแบบ อาจเพิ่มเทคนิคหลังพิมพ์เพื่อความสวยงาม น่าสนใจ ด้วยการยูวี, เคลือบพลาสติกด้าน, ยูวีเฉพาะจุด
การพับ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||||||
พับครึ่ง | พับสาม | พับแบบตัวZ | พับแบบประตู | พับแบบประตูสองครั้ง | พับแบบขนานสองครั้ง |